๒๙ มกราคม ๒๕๕๔

ขั้นตอนการติดตั้ง APRX เพื่อจะให้ WRT54GL กลายเป็น I-Gate

 ผมจะเริ่มด้วยหมายเลข 14 เพราะต่อเนื่องมาจากหัวข้อ การอัพเกรดเฟิร์มแวร์แบบที่หนึ่ง 

หลังจากที่ได้ทำการอัพเกรดเฟิร์มแวร์ของตัว WRT54G (v 1,2,3,3.1) หรือ WRT54GL (v1.1) แล้ว ให้เปิดหน้าเวบของตัว WRT54G ขึ้นมา

(14) เนื่องจากเราเรียกใช้งานครั้งแรกของหน้าจอเฟิร์มแวร์ OpenWRT ซึ่งยังไม่มีพาสเวิร์ดใด ๆ ก็ให้กดปุ่ม  Login  ผ่านเข้าไปเลย (ไม่ต้องกรอกพาสเวิร์ด)

 

(15) จากหน้าจอหลัก ให้คลิกเมาส์ที่  Administration  เพื่อเรียกเมนูใช้งานในส่วนของ Admin

 

(16) เลือกเมนู  System     (17) เลือกเมนูย่อย  Software 

 

(18) หลังจากคลิกเลือก Software แล้ว ก็จะได้หน้าจอนี้
       ให้คลิกเลือกหัวข้อ Update package lists เพื่อทำการอัพเดท software ตัวใหม่ ๆ ใน server ของผู้พัฒนาโปรแกรม

 แล้วรอสักเล็กน้อย (ตรงนี้อาจมีวิธีอย่างอื่นให้เร็วขึ้น แต่ผมทำตามนี้ครับ)

(19) เลื่อนแถบเลื่อน (scroll bar) ลงมาสักสามหน้า (จะกดปุ่ม Page Down ที่คีย์บอร์ดก็เร็วดีครับ) 

(20) หาโปรแกรมที่ชื่อว่า aprx แล้วคลิกที่คำว่า Install ที่อยู่ทางซ้ายมือ เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรม APRX

 

(21) จะมีหน้าจอให้ยืนยันการติดตั้ง  เลือกคลิกปุ่ม  OK 

 

(22) เมื่อเรียบร้อยแล้ว ก็ลองเลื่อนขึ้นมาดูข้างบน จะพบเห็นโปรแกรม aprx ถูกติดตั้งลงไปแล้ว

 

(23) ลองลาก scroll bar ลงมาเรื่อย ๆ เจอ package ชื่อว่า nano ผมจึงทำการติดตั้งเสียด้วยเลย 
(nano เป็น text editor ตัวหนึ่งของ linux ที่สามารถเปิดไฟล์มาทำการแก้ไขแบบ command line คล้าย ๆ กับ VI) การใช้งาน nano ผมอธิบายไว้ท้ายสุดของหน้าเวบนี้แล้ว

 ((( ถ้าท่านใช้ VI คล่องอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องติดตั้ง nano ตามผมก็ได้... ให้ข้ามไปข้อ 27 ได้เลย ) 

(24)
คลิก Install เพื่อทำการติดตั้ง โปรแกรม nano

 

(25) หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ลองย้อนขึ้นไปดูว่าระบบทำการติดตั้ง package ชื่อว่า nano ให้แล้วหรือยัง (ในภาพแสดงว่าติดตั้งแล้ว)

 

(26) ข้ามไปเลย (ไม่มีภาพประกอบครับ....คือตอนใส่หมายเลขในภาพประกอบ ผมลืมทำภาพหมายเลข 26) 
ถ้าไม่เขียนบอกไว้ เดี๋ยวจะถามหาว่าข้อ 26 หายไปไหนกันอีก

 

(27) ที่หน้าจอวินโดว์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลิกเม๊าส์เลือก  Start   ( ขอผมเป็นวินโดว์ XP แต่ทำหน้าจอให้คล้าย ๆ วินโดว์ 98 )

(28) คลิกเลือก  Run... 

จะได้หน้าต่าง Run ขึ้นมา

(29) พิมท์คำว่า cmd ลงไป

(30) แล้วคลิกปุ่ม  OK 

 

(31) จะได้หน้าต่าง Dos Command ขึ้นมา

(32) ที่หลังเครื่องหมายพร๊อมท์ (
>) ให้พิมพ์  telnet 192.168.1.1  แล้ว  Enter  หนึ่งครั้ง

 

(33) ระบบจะพาเข้าสู่หน้าจอ Command Line ของ OpenWRT (เรียกถูกหรือปล่าวก็ไม่รู้)

 

(34) ทำการกำหนดพาสเวิร์ดของ OpenWRT สำหรับการเข้าใช้งานในครั้งต่อไป

- พิมพ์คำว่า passwd (หลังเครื่องหมาย # ) แล้ว enter หนึ่งครั้ง  ( ย้ำนะครับว่าให้พิมท์ passwd ไม่ใช่ password อย่างทั่ว ๆ ไปที่เค้าพิมพ์ๆ กัน)

- หน้าจอจะให้ใส่พาสเวิร์ดลงไป (ให้เราพิมพ์พาสเวิร์ดที่เราต้องการลงไปตรง New password: ซึ่งในขณะที่เราพิมพ์ตัวอักษรใด ๆ ลงไป มันจะไม่ปรากฏข้อความหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ให้เราได้เห็น แต่ทุกครั้งที่กดแป้นคีย์มันจะจำเป็นพาสเวิร์ดหมดเลย) แล้ว enter หนึ่งครั้ง
( หน้าจออาจมีข้อความต่อว่า หรือทักท้วงเล็กน้อย ถ้าเราพิมพ์พาสเวิร์ดที่สั้นเกินไป หรือพาสเวิร์ดที่ง่ายแก่การเดา...อย่าได้ใส่ใจเลยเพราะว่าเราใช้งานอยู่คนเดียวเอง เอาที่เราจำได้ง่ายก็พอ )

- หน้าจอจะให้เราพิมพ์พาสเวิร์ดซ้ำอีกครับ (ให้พิมพ์พาสเวิร์ดที่เหมือนกับครั้งแรกลงไปตรง Retype password: ) แล้ว enter หนึ่งครั้ง

เสร็จแล้วก็ปิดหน้าจอ Dos Command ได้เลย 
(เพราะหลังจากเรากำหนดพาสเวิร์ดแล้ว ระบบความปลอดภัยจะล็อคไม่ให้สามารถ telnet เข้ามาได้อีก 
ดังนั้นเราจะต้องใช้วิธีอื่น เช่น ssh หรือ Web Interface ในการเข้าไปจัดการระบบแทนการ telnet)

 

(35) เปิดโปรแกรมจำพวก SSH ขึ้นมา ( การติดตั้งโปรแกรมพวก ssh ไปหาอ่านเพิ่มเองนะครับ )
ในตัวอย่างนี้ ผมใช้โปรแกรม ssh ที่มีชื่อว่า PuTTY ครับ

 

(36) เปิดขึ้นมาแล้วก็ใส่เลข IP ของตัว WRT54GL ลงไป (ค่า Default จะเป็น 192.168.1.1 ครับ) 

(37) แล้วกดปุ่ม  Open 

 

(38) ในการเข้ามาครั้งแรก โปรแกรมจะเตือนเกี่ยวกับความปลอดภัย ให้กดปุ่ม  YES  ผ่านไปเลย (ผมยังไม่เคยอ่านซักที)

 

(39) หน้าจอจะถามถึง login name ให้พิมท์คำว่า root ลงไป แล้วกด Enter (ค่ามาตรฐานของพวก Linux เค้าครับ) 
แล้วหน้าจอก็จะถามพาสเวิร์ด ให้ป้อนพาสเวิร์ดตัวที่เรากำหนดไว้ในข้อ 34 ลงไป แล้วกด Enter (ถ้าป้อนพาสเวิร์ดผิด ระบบจะให้ป้อนใหม่)

ในขณะที่เราพิมพ์ตัวอักษรพาสเวิร์ดใดๆ ลงไป หน้าจอจะไม่ปรากฏข้อความหรือสัญลักษณ์ใดๆ ให้เราได้เห็น แต่ทุกครั้งที่กดแป้นคีย์มันจะถือว่าเป็นพาสเวิร์ดหมดเลย

 

(40) เมื่อผ่านระบบ Login เข้ามาแล้ว ให้เข้าไปแก้ไขไฟล์คอนฟิกของโปรแกรม APRX ที่ชื่อว่า aprx.conf
โดยพิมพ์  # nano /etc/aprx.conf  แล้วกด Enter
( ตรงนี้ถ้าใครถนัด VI ก็ใช้คำสั้ง  # vi /etc/aprx.conf  ก็ได้ ..แต่ผมได้ติดตั้งโปรแกรม nano เอาไว้แล้วในข้อ 24 จึงเลือกใช้ nano ) 
คือขอยอมรับว่าไม่ถนัด VI เอาซ่ะเลยครับ... แต่ผมถนัด pico มากกว่า แล้วเจ้า nano ก็เป็นน้องของ pico จึงใช้งานเหมือนกันเลย.. 
(แต่มือเซียน Linux ทั่วโลกเค้านิยมใช้ VI กันนะครับ)

 

(41) โปรแกรม nano จะทำการเปิดข้อมูลในไฟล์ aprx.conf ขึ้นมาให้เราทำการแก้ไข (ต้องขยันหาบรรทัดที่เราจะทำการแก้ไข)

 

แต่ท่าน pa_ul ชี้แนะว่า เอาแค่นี้ก็พอ (ในกรอบด้านล่าง)  
โดยการลบข้อความเดิมในไฟล์ aprx.conf ทิ้งให้หมดแล้วพิมพ์หรือคัดลอกข้อความข้างล่างนี้ใส่ลงไปแทน  
 อ้อ..แก้ไขข้อความตรงที่ผมทำ xxx เอาไว้ให้เป็นไปตามความเป็นจริงด้วย
mycall xxxxxx-x

<aprsis>
   
server asia.aprs2.net 14580
</aprsis>

<interface>
   serial-device /dev/tts/1 9600 8n1 KISS
</interface>

<beacon>
   beaconmode aprsis
   cycle-size 30m
   beacon symbol "
R&" lat "xxxx.xxN" lon "xxxxx.xxE" comment "PHGxxxx Rx only I-GATE (APRX)"
</beacon>

 ตรงชื่อ server ตัวสีแดง ลองเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นดู (หากว่าตัวที่ผมให้ไว้ใช้การไม่ได้) โดยคลิกเข้าไปดูชื่อ server 
 ได้ที่ www.aprs2.net/APRServe2.txt  หรือที่ www.aprs2.net/serverstats.php 

และการกำหนดโหมดของ TNC ตรงหัวข้อ <interface> อาจจะต่างกันออกไป..ดูตามนี้ครับ

miniTNC ของค่าย FoxDelta (อินเดีย)
กำหนดเป็น serial-device /dev/tts/1 9600 8n1 TNC2

EzTNC ของค่าย Ez ของท่าน อ.พรชัย
กำหนดเป็น serial-device /dev/tts/1 9600 8n1 KISS

SABTnc ของท่าน HS3LSE กับ HS0NUU
กำหนดเป็น serial-device /dev/tts/1 9600 8n1 TNC2

TNC NV3A ของท่าน RAZOR
กำหนดเป็น serial-device /dev/tts/1 9600 8n1 TNC2

nTNC ของค่ายนครไทย (ท่าน HS5TQA)
กำหนดเป็น serial-device /dev/tts/1 9600 8n1 TNC2
 

(42) ผมขอทำตามคำแนะนำของท่าน pa_ul (อ.พรชัย) ครับคือลบของเดิมทิ้งไป 
กรณีใช้ nano สามารถทำการลบได้โดยการกดปุ่ม Ctrl กับปุ่ม K พร้อมกัน (จะเป็นการลบข้อความทีละบรรทัด กดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะลบหมดทุกบรรทัด)
ถ้าใครใช้ VI ก็หาวิธีเอาเองครับ..( ผมไม่ถนัด VI จริงๆครับ )

 จากนั้นเอาเม๊าส์ไประบายข้อความตามคำแนะนำของท่าน pa_ul (ในกรอบด้านบน) แล้วทำการคัดลอกข้อความ (คลิกเม๊าส์ปุ่มขวาแล้วเลือก copy)

(43) กลับมาหน้าจอเดิม (ที่เราลบข้อความไปหมดแล้ว) จากนั้นแค่เพียงคลิกเม๊าส์ขวาหนึ่งครั้ง ข้อความที่เราคัดลอกมาก็จะถูกวางลงไปทันที (ง่ายจัง)
แล้วอย่าลืมแก้ข้อความตามความจริงของ(ว่าที่)สถานี I-Gate ของท่านนะครับ...

ค่าที่ท่านจะต้องแก้ไขหลักๆ เลยคือ
- นามเรียกขานของสถานี I-Gate (ในบันทัดแรก ตรง mycall)
- สัญลักษณ์ของสถานี I-Gate ทีจะไปปรากฏบนจอง aprs.fi (ในบันทัด
beacon symbol) ซึ่งในไฟล์คอนฟิกของ aprx แนะนำไว้ดังนี้
     R& จะเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึง Rx-only iGate
     I& จะเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึง Tx-iGate
     /#
จะเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึง Digipeater
     I# จะเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึง Tx-iGate + Digipeater
- ค่าพิกัดตำแหน่งที่ั้ตั้งของสถานี I-Gate (ในบันทัด beacon symbol ตรงค่า lat "xxxx.xxN" lon "xxxxx.xxE") คลิกอ่านเพิ่มได้ที่นี่
- ข้อมูลสถานีเบื้องต้น
(ในบันทัด beacon symbol ตรงค่า
PHGxxxx) คลิกดูความหมายได้ที่นี่
- ข้อความที่จะให้แสดงในส่วนของรายละเอียดสถานี ในจอ aprs.fi
(ในบันทัด beacon symbol ตรงค่า
Rx only I-GATE (APRX))

 ( ผมขอเติมค่า PHG ลงไปด้วยนะครับ ซึ่งค่า PHGxxxx อันนี้ไปดูรายละเอียดได้ที่นี่  คลิ๊ก 

(44) เมื่อแก้ไขข้อความตามความเป็นจริงเรียบร้อยแล้วให้ทำการ save ไฟล์ โดยการกดปุ่ม Ctrl กับตัว O (คือคำสั่ง save)
จากนั้นด้านล่างของจอจะให้ยืนยันชื่อไฟล์ที่เราจะ save ตรงนี้ให้กด  Enter  เพื่อเป็นการยืนยัน

จากนั้นให้ออกจากโปรแกรม nano โดยการกดปุ่ม Ctrl กับตัว X (คือคำสั่ง exit) หน้าจอก็จะกลับมาจอเดิมอีกครั้ง

(45) ให้ทำการรันโปรแกรม APRX ด้วยคำสั่ง   # /etc/init.d/aprx start  แล้วกด Enter
และตามด้วยคำสั่ง  # /etc/init.d/aprx enable  แล้วกด Enter (คำสั่งนี้จะสั่งให้มัน enable เองโดยอัตโนมัติเมื่อไฟดับและติดขึ้นมาใหม่ หรือเมื่อเน็ต ADSL มีการเปลี่ยนเลข IP) (ขอขอบคุณ HS3PQJ ที่ชี้แนะครับ)

เป็นอันว่าเราได้ทำการติดตั้ง APRX เรียบร้อยแล้วพร้อมใช้งาน

(46) ตอนที่จะออกจากโปรแกรม PuTTY ให้พิมพ์คำสั่งนี้  # exit  แล้วกด enter หนึ่งครั้ง
โปรแกรม puTTY จะตัดการเชื่อมต่อกับตัว WRT54GL แล้วโปรแกรม puTTY จะปิดตัวเองโดยอัตโนมัติ

(47) ผลการปฏิบัติ
รอสักหนึ่งนาที , แล้วไปเปิด Web Browser , แล้วเปิดเวบไซต์ http://aprs.fi/?cal=hs9dmc-1 ก็จะพบกับความสำเร็จ

  
   ภาพซ้าย ไม่ได้กำหนดค่า PHG ในไฟล์ aprx.conf                     ภาพขวา มีการกำหนดค่า PHG ในไฟล์ aprx.conf 

=============================== จบแล้วครับ ===============================

ในส่วนของการต่อสัญญาณจากตัว WRT54GL เข้ากับ TNC และระบบอินเตอร์เน็ต 
ก็ทำเหมือนกันกับ APRS4R ตามลิ้งค์นี้ครับ http://www.hs9dmc.com/APRS4R/ 

  หรือจะดูภาพการต่อสายสัญญาณต่าง ๆ เข้าด้วยกัน


 

 


   แถม.. การใช้ nano editor    
[ข้อความต้นฉบับคัดลอกมาจาก http://linux.thai.net/pub/thailinux/docs/LTP/02_5Ppicoguide.html และผมแต่งเติมอีกนิดหน่อย]

หากคุณมีความรู้สึกว่า vi มีความยุ่งยากในการใช้งาน และต้องการที่จะใช้เอดิเตอร์ (editor) ที่มีลักษณะการใช้งานที่ง่าย nano น่าจะเป็นเอดิเตอร์ที่น่าสนใจสำหรับคุณได้ หากคุณเคยใช้ pine ในการส่งอีเมลล์ของคุณ คุณจะรู้สึกว่าการเขียนอีเมลล์ใน pine จะมีลักษณะเดียวกันกับการใช้ nano และการซึ่งการใช้งาน nano จะเหมือนกับการใช้งานใช้งาน pico (ใน Linux บางค่าย)

การเรียกใช้งาน nano สามารถทำได้ดังนี้

# nano [ชื่อไฟล์]

เมื่อเรียกใช้ nano จะมีลักษณะเป็น full screen editor และมีการใช้งานที่ค่อนข้างง่าย เราสามารถใช้ปุ่มลูกศร ปุ่ม PgUp, PgDn ในการเลื่อนบรรทัดขึ้นลงได้ และ nano จะมีการแสดงปุ่มพิเศษที่ต้องใช้บ่อยๆทางด้านล่างของจอภาพ เช่นปุ่มบันทึกข้อมูลลงไฟล์ ปุ่มแสดงความช่วยเหลือ หรือ ปุ่มจบโปรแกรม



โดยปกติปุ่มฟังก์ชั่นพิเศษที่ใช้ใน nano จะมีวิธีการใช้งานในลักษณะของการกดปุ่มควบคู่กับปุ่ม Control เช่นปุ่มแสดงความช่วยเหลือ จะต้องกดปุ่ม Ctrl-G เมื่อลองกดปุ่มนี้แล้วก็จะปรากฎหน้าต่างแสดงความช่วยเหลือขึ้นมา การจะเลื่อนให้ nano แสดงข้อความช่วยเหลือหน้าถัดไปจะต้องกดปุ่ม Ctrl-V ถ้าจะดูหน้าย้อนกลับจะต้องกดปุ่ม Ctrl-Y และถ้าจะออกจากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือก็ให้กดปุ่ม Ctrl-X คุณสามารถอ่านคำอธิบายความหมายของปุ่มพิเศษส่วนใหญ่ได้จากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือนี้

ปุ่มฟังก์ชั่นพิเศษอื่นๆที่น่าสนใจใน nano

Ctrl-X  ออกจากโปรแกรม nano (ถ้ามีการแก้ไขไฟล์ที่เราเปิดขึ้นมา โปรแกรมจะถามว่าบันทึกไฟล์หรือไม่ กด Y=บันทึก , กด N=ไม่บันทึก)
Ctrl-O  บันทึกไฟล์
Ctrl-J  เชื่อมบรรทัดอื่นให้เป็นบรรทัดเดียวกัน
Ctrl-R  อ่านไฟล์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่กำลังแก้ไข
Ctrl-W  ค้นหาคำที่ต้องการ
Ctrl-^  ระบายแถบสีเลือกข้อความที่ต้องการ
Ctrl-K  ตัดข้อความที่เลือกไว้ นำไปเก็บในบัฟเฟอร์
Ctrl-U  นำข้อความที่อยู่ในบัฟเฟอร์ออกมาใส่กลับไปในข้อความ
Ctrl-C  บอกตำแหน่งปัจจุบันของเคอร์เซอร์
Ctrl-T  เรียกตัวตรวจสอบการสะกดคำ
Ctrl-V  เลื่อนหน้าจอลงไปหนึ่งหน้า
(เหมือน Page Down ในวินโดว์)
Ctrl-Y  เลื่อนหน้าจอขึ้นไปหนึ่งหน้า
(เหมือน Page UP ในวินโดว์)

หวังว่าคงไม่ยากเกินไปนะครับ


ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมของ OenWrt ได้ที่ http://wiki.openwrt.org/doc/howto/installing