APRS4R by WRT54GL V1.1
{ จันทร์ ๖ กันยาน ๒๕๕๓ }

ขอขอบคุณท่าน E20EHQ (พี่กัปตัน) , ท่าน pa_ul (พี่พรชัย) , ท่าน newham , ท่าน E22JMY (จิมมี่) , ท่าน E20GMY (พี่พจน์ )
ที่คอยให้คำแนะนำอยู่เบื้องหลังทางโทรศัพท์ และทาง PM ของเวบ 100 วัตต์
และขอบคุณเวบบอร์ด 100 วัตต์ ที่เป็นแหล่งพบปะ
พิมพ์คุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์
รวมถึงเพื่อนสมาชิกอีกหลาย ๆ ท่านที่โพสข้อความไว้ให้ได้อ่านได้ศึกษาหาความรู้
ขอให้ทุก ๆ ท่านได้รับความขอบคุณจาก HS9DMC ด้วยครับ


เมื่อผมทำการแปลง WRT54GL ให้กลายเป็น APRS4R ( ส่วนของ Hardware )
ในส่วนของ Software คลิ๊กดูตรงนี้



WRT54GL V1.1 ซื้อมาใหม่เอี่ยม บอกคนขายว่าไม่ต้องติด void เพราะมันจะผิดเงื่อนไขการประกันทันทีหลังจากจ่ายเงิน
จ่ายเงิน-รับของเสร็จ จับมาแกะโชว์กันเห็นๆ ในร้านเลย (ภาพบน ถ่ายที่ร้านขายตัว wrt54gl)

ปกติแล้วการถอดเปลือกของ WRT54GL หรืออีกหลาย ๆ รุ่นของ Linksys มันแสนจะลำบาก ถอดยากเหลือเกิน
ผมไปเจอวิธีการถอดของต่างประเทศ น่าสนดีครับ เลยเอามาให้ดูกัน

  
( http://kkcheong.blogspot.com/2008/08/start-to-de-brick-my-wrt54g-episode-1.html )





กลับถึงโต๊ะทำงานก็จัดการเอา connector มาบัดกรีใส่ลงไปในตำแหน่ง Serial Port
( อันที่จริงใส่แค่สี่ขาก็พอ แต่ไหน ๆ ก็ใส่แล้วก็ให้ครบทุกรูเลยครับ )




ขา 7 และ 8 เป็นขาว่าง เลยเอาไฟ 12 โวลต์ มาฝากเอาไว้ โดยต่อมาจากไฟเลี้ยงของตัว WRT54GL เอง
( เพราะเดี๋ยวจะต้องเอาไฟ 12 โวลต์ ไปใช้กับตัวแปลงสัญญาณ TTL เป็น RS232 )


       

      
ภาพข้างบน-ซ้าย ยืมมาจากเวบ oldwiki.openwrt.org thank.        ส่วนภาพบน-ขวา ยืมมาจาก sites.google.com thank.
 

           
ภาพบน : แสดงการต่อสายจากบอร์ดของ WRT54GL เข้ากับชุดแปลงสัญญาณ TTL เป็น RS232  

 การต่อสัญญาณจาก WRT54GL เข้ากับชุดแปลงสัญญาณ TTL<>RS232 ให้ดูตำแหน่งขาจากชุดแปลง เป็นหลักน่ะครับ..
อย่างเช่นท่านใดใช้ชุดแปลง ของ ETT ให้ดูการต่อสายสัญญาณตามนี้ครับ..  คลิ๊ก  



ขาที่จะเอาไปใช้งานคือ ขา 3 (TX1)
/ ขา 5 (RX1) / ขา 9 (GND) / และขา 7 (ที่ฝากไฟ 12 โวลต์เอาไว้)
ที่ต้องเลือกใช้ขาหมายเลขเหล่านี้เพราะว่าในไฟล์คอนฟิก (CALLSIGN.yaml) เราได้กำหนดไว้ว่าจะใช้พอร์ต /dev/tts/1
( ซึ่งรายละเอียดตรงนี้ต้องดูเรื่อง การติดตั้งโปรแกรม APRS4R ประกอบความเข้าใจ )




อุปกรณ์ชุดเล็ก ๆ แผ่นปริ้นท์สีฟ้าที่มีพอร์ต DB-9 คือชุดแปลงสัญญาณ TTL เป็น RS232 (ทำงานที่แรงดัน 3.3 V)
( เป็นชุดสำเร็จของ smart kit ซึ่งใช้ไอซีเบอร์ MAX3221 - - - อันนี้จิ๊กมาจาก HS7CTU ครับ )
ถ้าหาชุดสำเร็จแบบผมไม่ได้  ก็ลองหาวงจรมาทำเอง (ไม่ยากครับ)
หรือจากที่นี่ก็สะดวกดี http://www.ett.co.th/product/InterfaceBoard/P-ET-A-00231.html 




สายอินเตอร์เฟสที่ต่อจากชุดแปลงสัญญาณ TTL-to-RS232 ไปเข้าตัว EzTNC จะใช้ Connector แบบ DB9 ตัวผู้
ซึ่งต่อเพียง 3 เส้น (แบบไขว้) 
ขา 5 <---> ขา 5     ขา 3 <---> ขา 2     ขา 2 <---> ขา 3 




สัญญาณเสียงจากวิทยุสื่อสาร เข้ากับตัว EzTNC การต่อเข้ากับวิทยุแต่ล่ะรุ่นจะต้องดูวงจรจากคู่มือของ EzTNC นะครับ
( สำหรับของผมใช้วิทยุสื่อสารโมบาย ICOM รุ่น IC-V8000 จึงทำการเข้าหัวสายตามภาพด้านบนนี้ )


               @ ต่อสัญญาณเสียงจากวิทยุสื่อสาร เข้ากับตัว EzTNC (สายกลมๆ สีขาว ซ้ายมือของ EzTNC) 
@ จากนั้นต่อตัว EzTNC เข้ากับตัวแปลงสัญญาณ TTL-to-RS232 (สาย 3 เส้นสี ม่วง-เขียว-ฟ้า)
@ จากนั้นต่อตัวแปลงสัญญาณ TTL-to-RS232 เข้ากับ WRT54GL(สายแพ 4 เส้นสี แดง-ขาว-เขียว-ดำ)
@ และสุดท้ายต่อ WRT54GL เข้าอินเตอร์เน็ต (สาย LAN สีขาว)
@ ส่วนสาย LAN สีฟ้าต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์สำหรับการเซ็ตอัพ

วางอุปกรณ์ในลักษณะทดลองใช้งานดูก่อน ถ้าเสถียรดีแล้วแล้วค่อยหากล่องสวย ๆ ให้สิงสถิตย์่





ภาพนี้ ทำ 5 ส แล้วดูดีขึ้นมาหน่อยนึง





ผลงานแห่งความสำเร็จ



วิ่งทดลองตอนเช้าของวันอังคารที่ ๗ กันยายน ๒๔๕๓ (ไปส่งฮาโมนิคที่โรงเรียน) ใช้ Tracker ติดกับเครื่องโมบาย





วิ่งทดลองตอนเช้าของวันศุกร์ที่ ๑๐ กันยายน ๒๔๕๓ (ไปส่งฮาโมนิคที่โรงเรียน) ใช้ Tracker ติดกับเครื่องมือถือโบราณ (แต่คุณภาพยังแจ๋วอยู่เลย)



Tracker + วิทยุมือถือ + แบตเตอรี่ (ติดตั้งด้วยกาวสองหน้ายอดฮิต)
ถ้าใช้ไฟรถยนต์ จะมีผลให้ช่วงเวลาสตาร์รถจะทำให้พิกัดตำแหน่งเปลี่ยนยุ่งเหยิงไปหมด



ติดตั้งสวิทช์เอาไว้เปิด-ปิดด้วย / ที่ขั้วของแบตเตอรี่ทั้งสองขั้วได้ทำการหุ้มเอาไว้กันช๊อต
ส่วนสายปากคีบดำ-แดง ผมเอาไว้สำหรับชาร์จไฟให้กับแบตเตอรี่ ซึ่งผมมีไดโอดป้องกันเอาไว้แล้ว ไม่ต้องกลัวมันช๊อตครับ


 คลิ๊ก...อ่านขั้นตอนการอัพเกรดเฟิร์มแวร์ ของ WRT54GL และการติดตั้งโปรแกรม APRS4R (ส่วนของ Software)