กำเนิด
Echolink
ในประเทศไทย
(
Echolink
ภาค 1
)
สำหรับในประเทศไทยนั้นยังไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้เริ่มใช้งานเป็นท่านแรก ซึ่งคงจะเป็นช่วงที่อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายมากนักในหมู่นักวิทยุสมัครเล่น
กลางเดือนตุลาคม 2545
นักวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลกลุ่มหนึ่งนำโดยคุณพัฒนดิษฐ์
HS1WFK ได้ทดลองการติดต่อสื่อสารกับนักวิทยุสมัครเล่นผ่านระบบ
Internet (ด้วยโปรแกรม eQSO และ Echolink)
ไปยังต่างประเทศทั่วโลก...
ขณะเดียวกัน HS9DMC
ซึ้งเป็นนักวิทยุสมัครเล่นในจังหวัดสงขลาได้เริ่มเล่นโปรแกรม
Echolink ด้วย (ตอนนั้นเป็นเวอร์ชั่น
1.5.832 )
ก็พยายามทำการติดต่อกับคนไทยด้วยกัน
(คงเพราะภาษาต่างประเทศไม่เก่ง)
เลยได้ทำการ connect กับ HS1WFK
ด้วยโปรแกรม Echolink และ โปรแกรม eQSO
ซึ่งช่วงนั้นได้ทำการทดลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสองโปรแกรมนี้และได้ข้อสรุปว่าเราจะทำการติดต่อกันด้วยโปรแกรม
Echolink ดีกว่า
จากนั้นทั้งสถานี HS1WFK-L (กรุงเทพฯ)
และสถานี HS9DMC-L (สงขลา)
จึงได้นัดแนะกันว่าเวลาช่วง
19.00 น. โดยประมาณ เราจะทำการ connect
เข้าด้วยกันและออกอากาศให้เพื่อน
ๆ
สมาชิกใกล้เคียงสถานีลิงค์ได้ติดต่อพูดคุย...
มีการจัดคิวให้เพื่อน ๆ
สมาชิกได้ QSO กัน
แต่ภายหลังทราบมาว่ามีคนที่รอฟังการติดต่อสื่อสารผ่านโปรแกรม
Echolink มากกว่าคนที่ QSO เสียอีก.
รัศมีการรับ-ส่งของสถานี HS1WFK-L
นั้นไกลโขอยู่ มีสมาชิกแถว ๆ
ข่อนแก่นเคยติดต่อได้
ส่วนทางสงขลาสถานีของ HS9DMC-L
นั้นรัศมีการรับส่งได้ไม่ไกลนัก
บางวันได้ปรับความถี่ไปแถว ๆ
รีพีทเตอร์หาดใหญ่บ้าง ,
รีพีทเตอร์พัทลุงบ้าง ,
รีพีทเตอร์นครศรีธรรมราชบ้าง
ก็ทำให้สมาชิกชักเริ่มสนใจมากขึ้น
.... การร่วม connect
กันช่วงนั้นบางวันก็เลิกห้าทุ่มบ้าง
เที่ยงคืนบ้าง
แล้วแต่สถานะการณ์
การทดลองติดต่อสื่อสารโดยผ่านระบบ Internet ของนักวิทยุสมัครเล่นในภูมิภาคเป็นครั้งแรกของประเทศไทย คือ ระหว่างสถานีลิ้งค์ HS1WFK-L (โดยคุณพัฒนดิษฐ์ , ถ.พุทธมณฑลสาย 2 , กรุงเทพฯ) กับสถานีลิ้งค์ HS9DMC-L (โดยคุณธรรมนงค์ ทวีชื่น , อ.เมือง , จ.สงขลา) |
ภาพ
แสดงการติดต่อสื่อสาร Echolink
ในขณะนั้น (ช่วงตุลาคม 2545)
ระหว่างสถานี HS1WFK-L ที่กรุงเทพฯ
กับสถานี HS9DMC-L ที่
จังหวัดสงขลา
จากนั้นก็ได้เกิดความฮือฮาขึ้นในหมู่นักวิทยุสมัครเล่น
ทั้งในกรุงเทพฯ และสงขลา (รวมถึงจังหวัดใกล้เคียงที่รับสัญญาณได้)
มีการพูดคุยในช่องสื่อสารทั่วไปเกี่ยวกับการที่สามารถติดต่อกันได้ระหว่างกรุงเทพฯ
และภูมิภาคโดยผ่านโปรแกรม
Echolink
ทำให้ทุกค่ำคืนที่มีการติดต่อฯ
จะมีเพื่อนสมาชิกจำนวนเพิ่มมากขึ้นที่ต้องการ
QSO ผ่านโปรแกรม Echolink ...
จนมีเพื่อน ๆ
นักวิทยุสมัครเล่นได้เข้ามาขอคอนเท็คสอบถามกันมากว่าทำไมทางสงขลาจึงคุยกับทางกรุงเทพได้ด้วยสายอากาศไม่สูงนัก..ทำกันอย่างไร..
ทำกันแบบไหน..
ติดตั้งโปรแกรมอย่างไร..
ซึ่งทาง HS1WFK และ HS9DMC
ก็จะต้องคอบตอบคำถามให้กับเพื่อน
ๆ
สมาชิกกันจนจะกลายเป็นเรื่องท่องจำเลยทีเดียว...
เพื่อลดเวลาในการตอบคำถามให้เพื่อนสมาชิก
ทาง HS9DMC ได้จัดทำเวบไซด์ (เมื่อต้นเดือน พฤศจิกายน 2545)
ที่อธิบายถึงความเป็นมาของ
Echolink ,
อธิบายถึงรูปแบบการติดต่อ ,
อธิบายการทำงานของระบบ ,
อธิบายถึงการติดตั้งโปรแกรม..
จนทำให้จำนวนตัวเลขผู้เข้าชมเวบไซด์พุ่งสูงขึ้นถึงหลักพันในเวลาอันรวดเร็ว
ในช่วงเดียวกันนี้ก็ได้มีการพูดถึงเรื่อง
Echolink
ในย่านความถี่ขั้นกลางกันด้วย
จึงสามารถดึงให้นักวิทยุสมัครเล่นรุ่นเก่า
ๆ หันมาจับไมค์เล่นวิทยุย่าน VHF
กันอีกครั้งหนึ่ง
ปลาย พฤศจิกายน 2545 ทาง HS1WFK
และกลุ่มเพื่อน ๆ
สมาชิกในกรุงเทพฯ
เห็นว่าระบบนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อน
ๆ
สมาชิกและเป็นการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีในวงการนักวิทยุสมัครเล่นไทย
จึงได้ประสานงานกับทางสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ (R.A.S.T.)
ให้ทำหนังสือขออนุญาตไปยังกรมไปรษณีย์โทรเลข
เพื่อทำการทดลองอย่างถูกต้องตามกฏ-ข้อบังคับของกรมฯ
เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2545
ทางสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ (R.A.S.T.)
ได้รับ อนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลข
ให้ทำการทดลองใช้งานได้เป็นเวลา
6 เดือน (16 ธันวาคม 2545 ถึง
30 มิถุนายน 2546)
โดยทางกรุงเทพ มี HS2JFW เปิด Echolink
เพิ่มขึ้นมาอีก 1 สถานี
แต่เป็นเฉพาะเวลากลางวัน...
ซึ่งช่วงนี้เองที่สถานี HS9DMC-L
ได้ทำการออกอากาศ Echolink แบบ 24
ชั่งโมงเป็นสถานีแรกของประเทศไทย
โดยเฉพาะช่วงหลังเที่ยงคืนไปแล้ว
จะมีนักวิทยุสมัครเล่นต่างประเทศได้เข้ามาติดต่อเป็นจำนวนมากเพราะว่ารูปแบบการสื่อสารผ่าน
internet
นั้นในประเทศไทยมีน้อยมาก
ผมจำได้ว่าเดือนแรกที่เปิดทำการแบบ
24 ชั่วโมงนั้น
ได้มีนักวิทยุสมัครเล่นต่างประเทศติดต่อเข้ามากว่า
300 สถานี โดยขณะนั้นทางสถานี
HS9DMC-L มี HS9DP (รับช่วง
หลังเที่ยงคืนไปจนเกือบสว่าง)
HS0MUD HS9LAQ HS9LIT
และเพื่อนสมาชิกอีกหลายสถานี
ทำหน้าที่รับช่วงกลางวันจนถึงตอนค่ำ
ในช่วงนี้เองได้มีนักวิทยุสมัครเล่นที่พร้อมจะเปิดเป็นสถานี
Echolink แบบ Link ออกอากาศให้เพื่อน ๆ
สมาชิกทาง RF
ได้ทำการติดต่อด้วยหลายสถานี
เช่นสถานี HS8LR-L
ซึ่งออกอากาศที่ อ.หลังสวน จ.ชุมพร
, HS3BCK-L ออกอากาศที่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ,
สถานี HS9XT-R (ที่ความถี่รีพีทเตอร์
145.7000 MHz dup- 600 k )
ซึ่งออกอากาศที่ อ.เมือง จ.ยะลา
, สถานี HS9AQU-L
(ที่ความถี่ 144.4500 MHz)
ออกอากาศที่ อ.เมือง จ.ยะลา ,
สถานี HS6HJP-L
(ที่ความถี่ 144.8500 MHz)
ออกอากาศที่ อ.เมือง จ.อุทัยธานี
, สถานี HS7AS-L
(ที่ความถี่ 144.6750 MHz)
ออกอากาศที่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
การอนุญาตให้ทดลองครั้งแรกของกรมไปรษณีย์โทรเลขนี้ไม่ได้ระบุความถี่ที่จะใช้งาน
ระบุเพียงว่าเป็นช่องความถี่ที่ใช้ติดต่อทางเสียงเท่านั้น
หลังจากที่ได้รับอนุญาตให้ทำการทดลองฯ
ทางนิตยสาร 100 วัตต์ , นิตยสาร QRZ
Thailand , นิตยสารเซมิคอนดัคเตอร์
ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตและโปรแกรม
Echolink
โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ก็ได้มาจากเวบไซด์ที่
HS9DMC ได้เขียนเอาไว้
เมื่อนักวิทยุสมัครเล่นที่เป็นผู้อ่านขาประจำของนิตยสารเหล่านั้นได้อ่านบทความ
ก็ยิ่งทำให้มีการทดลองโปรแกรม
Echolink
ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอีกหลายสถานี
ดูรายชื่อเกือบทั้งหมดได้ที่นี่ครับ
30 มิถุนายน 2546 ครบกำหนดอายุใบอนุญาตที่ทางกรมไปรษณีย์ออกให้เพื่อทำการทดลองแล้ว
ทางสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
ในพระบรมราชูปถัมภ์ (R.A.S.T.)
ได้ทำการสรุปผลการทดลองเสนอไปยังกรมไปรษณีย์โทรเลข
และได้ทำหนังสือขอต่อใบอนุญาต..
ในช่วงนี้ทำให้ทางประเทศไทยมีจำนวนผู้เล่นระบบนี้ลดจำนวนลงไปเรื่อย
ๆ จนบางวันไม่เหลือผู้เปิด
Echolink อยู่เลย
Email to HS9DMC