โปรแกรม Orbitron ใช้ในการคำนวณหาตำแหน่งของดาวเทียม
( ก๊อปปี้มาจาก http://www.space.mict.go.th/service/orbitron.php ขอขอบคุณ คุณเชาวลิต รัศมีนิล )
{{{ เวบไซต์หน้านี้เป็นลิขสิทธิ์ของคุณเชาวลิต รัศมีนิล และศูนย์ข้อมูลอวกาศ สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ }}}
{[
แต่ผมนำมาเก็บรักษาไว้เพื่อป้องกันการสูญหายในอินเตอร์เน็ต ]}

    โปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณหาตำแหน่งของดาวเทียมในปัจจุบันมีให้ผู้ใช้เลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งาน ซึ่งมีตั้งแต่โปรแกรมที่มีความง่ายต่อการใช้งานสามารถดาวน์โหลดไปใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย จนไปถึงโปรแกรมที่มีความสามารถสูงในระดับพาณิชย์ แหล่งข้อมูลสำคัญที่น่าสนใจเพื่อเข้าไปเลือกใช้โปรแกรมคือ เว็บไซต์ http://www.amsat.org/tools ซึ่งจะรวบรวมการเชื่อมโยงไปยังโปรแกรมต่างๆ 

รูปภาพแสดงตัวอย่างหน้าเว็บเพจที่รวบรวมโปรแกรมคำนวณหาตำแหน่งของดาวเทียม

โปรแกรม Orbitron 

จากแหล่งข้อมูลข้างต้นโปรแกรมที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และมีความง่ายต่อการใช้งานคือโปรแกรม Orbitron ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เหมาะสำหรับผู้เริ่มใช้งานและมีความสวยงาม สามารถปรับแต่งค่าเพื่อให้แสดงผลได้หลากหลายตามความต้องการ ซึ่งมีคุณสมบัติที่สำคัญได้แก

ความต้องการของระบบพื้นฐานสำหรับใช้งานโปรแกรม ได้แก่

รูปภาพแสดงตัวอย่างหน้าจอของโปรแกรม Orbitron

 การดาวน์โหลดโปรแกรม Orbitron ไปใช้งาน 

ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมไปใช้งานโดยเลือกดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของโครงการ หรือ ดาวน์โหลด หรือ http://www.stoff.pl/downloads.php

แฟ้มข้อมูลที่ให้เลือกดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือแฟ้มข้อมูลที่พร้อมติดตั้ง (exe) และข้อมูลที่บีบอัดข้อมูล (zip) ไว้ซึ่งจะมีวิธีการติดตั้งที่แตกต่างกัน ในที่นี้เพื่อง่ายต่อการติดตั้งขอแนะนำให้ดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูลที่พร้อมติดตั้ง (exe) ซึ่งจะมีขนาดประมาณ 2 เมกกะไบต์

รูปภาพแสดงตัวอย่างหน้าดาวน์โหลดโปรแกรม


 การติดตั้งโปรแกรม Orbitron 

1. กดดับเบิ้ลคลิกที่แฟ้มข้อมูลพร้อมติดตั้ง (orbitron.exe)

2. โปรแกรมจะขึ้นเมนูให้เลือกภาษา ให้เลือกที่ภาษาอังกฤษหรือภาษาอื่นที่ต้องการ (โดยค่าเริ่มต้นของโปรแกรมจะเป็นภาษาอังกฤษ)

 

3. โปรแกรมจะขึ้นหน้าจอต้อนรับขึ้นมา ให้กด Next เพื่อทำงานต่อไป

 

 

4. โปรแกรมจะขึ้นเมนูให้เลือกโฟล์เดอร์ปลายทางที่จะติดตั้งโปรแกรม (โดยค่าเริ่มต้นของโปรแกรมจะติดตั้งโปรแกรมลงในโฟล์เดอร์ C:\\Program Files\Orbitron) ให้เลือก Next เพื่อเลือกติดตั้งตามค่าเริ่มต้น หรือ กดเลือก Browse เพื่อเลือกปลายทางที่ต้องการ

5. โปรแกรมจะขึ้นหน้าจอให้เลือกติดตั้งแฟ้มข้อมูลโปรแกรม ให้กด Next เพื่อติดตั้งตามค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมแนะนำ หรือกดเลือกแฟ้มที่ต้องการด้วยตัวเอง

 

6. โปรแกรมจะให้เลือกติดตั้งรายละเอียดย่อย เช่น จะสร้างไอคอนหรือไม่ เป็นต้น ให้กด Next เพื่อติดตั้งตามค่าเริ่มต้นที่โปรแกรมแนะนำ หรือเลือกรายละเอียดตามความต้องการ

 

7. ลำดับต่อไปโปรแกรมจะขึ้นข้อมูลให้ยืนยันค่าที่เลือกไว้อีกครั้ง หากค่าที่ติดตั้งถูกต้องตามที่ต้องการแล้วให้กด Install เพื่อไปขั้นตอนการสำเนาแฟ้มข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์

 

8. เมื่อโปรแกรมติดตั้งสมบูรณ์แล้วจะขึ้นหน้าจอแสดงว่าได้ติดตั้งโปรแกรมสมบูรณ์แล้ว ให้กด Finish เพื่อเสร็จสิ้นกระบวนการติดตั้งโปรแกรม

 9. หลังจากทำการติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะเรียกตัวเองอัตโนมัติ (หากเราเลือกให้ Launch Orbitron ในขั้นตอนที่ 8) เมื่อเรียกโปรแกรมครั้งแรก โปรแกรมจะสอบถามว่าเราจะต้องการปรับปรุงค่า TLE Keplerien Elements) ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือไม่ หากเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้ต่ออินเตอร์เน็ตให้กด No 

10. หากเลือกกด YES โปรแกรมจะให้เลือกเซิร์ฟเวอร์เพื่อติดต่อไปดึงเอาไฟล์ TLE ที่ใหม่ล่าสุดมาปรับปรุงข้อมูล เมื่อเลือกเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการได้แล้วให้กด OK เพื่อปรับปรุง TLE ทำตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้น 

 

11.  เมื่อทำตามขั้นตอนที่ 9 หรือ 10 เสร็จสิ้นโปรแกรมก็จะพร้อมให้ใช้งานได้แล้ว


 การใช้งานโปรแกรม Orbitron 

การเรียกใช้งานโปรแกรมสามารถกดดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนของ Orbitron ที่อยู่บน Desktop หรือเลือกโปรแกรมจากเมนู Orbitron จากเมนูโปรแกรมของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และเลือกโปรแกรม Orbitron 

โปรแกรม Orbitron จะแบ่งหน้าจอแสดงผลออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ด้วยกันคือ  

1. หน้าจอหลักแสดงผลการเคลื่อนที่ของดาวเทียม

โดยในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงเส้นทางการโคจรของดาวเทียมที่เราสนใจโดยแสดงเป็นจุดหรือสัญลักษณ์พร้อมอักษรย่อหรือชื่อของดาวเทียม และตำแหน่งของดาวเทียมที่เราเลือกเอาไว้พร้อมทั้งแสดงให้เห็นพื้นที่ภูมิศาสตร์บนโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งที่ตั้งของสถานีภาคพื้นดินและตำแหน่งปัจจุบันของดาวเทียมว่าเคลื่อนผ่านในตำแหน่งใดของโลก รวมทั้งสามารถแสดงให้เห็นการเคลื่อนที่ผ่านของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์โดยมีเส้นแบ่งระหว่างจุดที่แสงอาทิตย์ส่องถึงและพื้นที่มืดที่แสงอาทิตย์ส่องไปไม่ถึงซึ่งจะแสดงเป็นสีที่ทึบกว่า

2. หน้าจอแสดงแผงควบคุมของโปรแกรม

ภายในหน้าจอแผงควบคุมจะแบ่งกลุ่มคำสั่งและค่าการแสดงผลออกเป็นแถบคำสั่งต่างๆ ดังนี้

2.1 แถบหลัก (Main)

รูปภาพแสดงแถบควบคุมหลัก

ภายในหน้าจอแผงควบคุมหลัก จะประกอบไปการปรับโหมดการแสดงผลซึ่งจะมีให้เลือกว่าจะให้โปรแกรมแสดงผลการคำนวณตำแหน่งของดาวเทียมในลักษณะเวลาจริง (Real time) หรือการจำลองเวลา (Simulation) 

หากผู้ใช้เลือกโหมดเวลาจริงช่องแสดงวันเวลาจะเป็นแถบสีเทา หมายถึงไม่สามารถเลือกเวลาได้ โดยเวลาที่ใช้จะมีให้เลือก 2 แบบด้วยกันคือ เวลาท้องถิ่น (Local Time) หรือ เวลามาตรฐานสากล (UTC) หากผู้ใช้เลือกโหมดจำลองเวลาช่องแสดงวันเวลา จะเปิดให้ผู้ใช้ตั้งเวลาเริ่มต้นและแสดงความเร็วต่อหนึ่งวินาทีเป็นเวลาต่างๆ ทั้งในหน่วย วินาที, นาที, ชั่วโมง, วัน, คาบเวลา หรือ จุดทดสอบ โดยผู้ใช้สามารถสั่งให้แสดงผล ไปข้างหน้า (>>> , -> ) หรือ ย้อนหลัง ( <<< ,<- ) ได้ตามต้องการ

นอกจากส่วนของเวลาแล้วโปรแกรมยังมีปุ่มให้เลือกอีก ดังนี้

  ปุ่มหน้าต่างช่วยเหลือ   เมื่อกดเลือกจะแสดงหน้าจอดังนี้

  ปุ่มการจับภาพหน้าจอขณะนั้น  เมื่อกดปุ่มนี้โปรแกรมจะบันทึกหน้าจออัตโนมัติโดยขึ้นข้อความดังนี้ 

 ปุ่มลดหน้าวินโดว์ของโปรแกรม  

  ปุ่มปิดโปรแกรม เมื่อกดเลือก โปรแกรมจะขึ้นหน้าต่างให้ยืนยันการปิดโปรแกรม หากต้องการปิดให้เลือกกด YES >ถ้าไม่ต้องการให้กดเลือก No

  ปุ่มปรับปรุงค่าโปรแกรม เมื่อกดเลือก โปรแกรมจะแสดงหน้าจอหน้าต่างย่อยที่แสดงแถบข้อมูลที่ต้องการแก้ไขต่างๆ อีก 6 แถบ ได้แก่ แถบทั่วไป (General), แถบแผนที่โลก (World Map), แถบปรับปรุง TLE (TLE Update), แถบเทียบเวลา (Time Synch), แถบอื่นๆ (Miscellaneous) และแถบเพิ่มเติม (Extra)

 

  ภาพด้านบนแสดงค่าภายในแถบทั่วไป จะมีส่วนที่เกี่ยวข้องคือ การแสดงผลรูปแบบของค่า RA/Decl, ค่า Lon/Lat output ( แสดงค่าละติจูตและลองติจูต), ค่าของเวลาท้องถิ่น ซึ่งให้เลือกแบบอัตโนมัติหรือปรับค่าได้ตามความต้องการ และรูปแบบวันที่ที่ต้องการให้แสดงผลออกมา

และรูปแบบวันที่ที่ต้องการให้แสดงผลออกมา ภาพด้านบนแสดงค่าภายในแถบแผนที่โลก จะมีค่า Preset ให้เลือกในแบบต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ และผู้ใช้สามารถสร้างค่า Preset ใหม่เป็นของตัวเองได้ โดยกดเลือกที่ปุ่ม

 

 

รูปภาพแสดงให้เห็นถึงการเลือกค่า Preset เป็นแบบ Colored

 

ภาพด้านบนแสดงค่าภายในแถบปรับปรุง TLE จะแสดงให้ผู้ใช้เลือกเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการดาวน์โหลดแฟ้ม TLE ล่าสุด โดยกดปุ่ม  เพื่อให้โปรแกรมติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่เลือกไว้เพื่อดาวน์โหลดแฟ้มข้อมูลมาติดตั้งภายในเครื่อง

 

 

ภาพด้านบนแสดงค่าภายในแถบเทียบเวลา โดยโปรแกรมจะให้เลือกเซิร์ฟเวอร์ที่บริการเวลามาตรฐานของโลก โดยกดที่ปุ่ม   เพื่อเปรียบเทียบเวลา

 

ภาพด้านบนแสดงค่าภายในแถบอื่นๆ

 

ภาพด้านบนแสดงค่าภายในแถบเพิ่มเติม

 ปุ่มโหลดค่าโปรไฟล์

 

 

  ปุ่มใช้บันทึกค่าโปรไฟล์ โดยโปรแกรมจะให้เลือกบันทึกค่าต่างๆ ตามที่เราต้องการเก็บไว้เพื่อใช้ในโอกาสต่อไป

 

    ปุ่มแสดงข้อความจากระบบ เมื่อเรากดปุ่มนี้โปรแกรมจะแสดงข้อความที่ระบบส่งมาให้ดังรูป

 ปุ่มปรับหน้าจอเป็นกลางคืน เมื่อกดปุ่มหน้าจอจะมืดลงดังรูป

 

 

  ปุ่มซ่อนแผงควบคุม เมื่อกดปุ่มแผงควบคุมจะหายไปดังรูป

 

  ปุ่มขยายหน้าจอหลัก เมื่อกดปุ่มหน้าจอแสดงแผนที่จะขยายเต็มที่ 

 

 ปุ่มแสดงผลแบบเต็มหน้าจอหรือวินโดว์

 ค่าตัวเลขแสดงถึงการทำปรับปรุงหน้าจอแสดงการเคลื่อนที่ของดาวเทียม มีหน่วยเป็นวินาที

 ปุ่มเปิดและปิดหน้าจอแสดงเวลา  

2.2  แถบปรับการแสดงผล (Visualization)

 

ภายในแถบปรับการแสดงผล จะมีค่าให้ปรับเลือกต่างๆ เช่นค่าของมินิเรดาห์, ค่าดาวเทียมที่ติดตาม, ข้อมูลที่แสดงบนแผนที่ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถเลือกให้แสดงผลในรูปแบบของ World Map หรือ Radar ได้ โดยภายใน World Map จะเลือกให้แสดงดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เงายามค่ำคืนได้ตามความต้องการ โดยการ click ให้มีเครื่องหมายถูกหน้าสิ่งที่ต้องการให้แสดงผล และเอาเครื่องหมายถูกออกหน้าชื่อที่ไม่ต้องการให้แสดงผล

 

 

ภาพแสดงตัวอย่างหน้าจอที่เลือกแสดงผลเป็นเรดาห์

2.3   แถบตำแหน่งที่ตั้ง (Location)

และรูปแบบวันที่ที่ต้องการให้แสดงผลออกมา< font>< P>

ภายในแถบตำแหน่งที่ตั้ง ผู้ใช้สามารถเลือกเมืองสำคัญๆ ของโลกได้จากฐานข้อมูลของโปรแกรมด้านขวามือ หรือผู้ใช้สามารถปรับแต่งสถานที่ของตนเองได้โดยกำหนดชื่อสถานที่ตั้ง และกำหนดค่าลองติจูตและละติจูตของตำแหน่งที่ตั้งได้ รวมทั้งค่าอื่นๆ ได้ตามต้องการ หลังจากนั้นก็ให้กดเลือก Choose เพื่อเลือกสถานที่ตั้ง นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเก็บที่ตั้งที่ปรับปรุงแล้วลงฐานข้อมูลเดิมหรือเพิ่มฐานข้อมูลได้เองตามความต้องการ

และรูปแบบวันที่ที่ต้องการให้แสดงผลออกมา โดยโปรแกรมจะให้เลือกบันทึกค่าต่างๆ ตามที่เราต้องการเก็บไว้เพื่อใช้ในโอกาสต่อไป

2.4   แถบข้อมูลดาวเทียมและวงโคจร (Sat/Orbit info)

 

ภายในแถบข้อมูลดาวเทียมและวงโคจรจะแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของดาวเทียมที่ผู้ใช้กำลังเลือกใช้งานอยู่

2.5   แถบติดตั้งค่าการพยากรณ์ตำแหน่งดาวเทียม (Prediction Setup)

 

ภายในแถบตั้งค่าการพยากรณ์จะมีค่าให้ตั้งคือเลือกว่าจะให้คำนวณเป็นช่วงอัตโนมัติหรือกำหนดเอง และให้คำนวณล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเท่าใด โดยมีค่าเงื่อนไขต่างๆ ตามที่เราต้องการเช่น ต้องการมองเห็นได้หรือไม่ (Illumination required), มีความสว่างของดาวเทียมอย่างน้อยเท่าไหร่ (Minimum flare mag) เป็นต้น โดยการคำนวณสามารถเลือกคำนวณทั้งหมด (All), เฉพาะที่ติดตาม (Tracked) หรือ ดวงที่เลือกขณะนั้น (Active)

2.6 แถบพยากรณ์ตำแหน่งดาวเทียม (Prediction)

 

 ภายในแถบพยากรณ์จะเกี่ยวเนื่องกับแถบติดตั้งค่าพยากรณ์ โดยจะแสดงผลตามที่ผู้ใช้ได้เลือกค่าต่างๆ ไว้แล้วในแถบติดตั้งค่าพยากรณ์ เมื่อต้องการให้แสดงผลการคำนวณก็ให้กดเลือก  Predict  โปรแกรมจะทำการแสดงผลค่าที่คำนวณมาให้ดังภาพด้านล่าง

 

โดยผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลที่ได้ลงบนฮาร์ดดิสก์โดยกดปุ่ม  หรือทางเครื่องพิมพ์โดยกดปุ่ม  ได้

2.7 แถบควบคุมการหมุนแกนและวิทยุ (Rotor/Radio)

 

ภายในแถบข้อมูลควบคุมการหมุนแกนและวิทยุนี้จัดทำขึ้นเพื่อช่วยในการคำนวณการหมุนแกนของเสาอากาศรับสัญญาณจากดาวเทียม เพื่อให้เสาแบบหมุนแกนสามารถหมุนตามทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวเทียมได้รวมทั้งสามารถกำหนดช่องความถี่ในการรับส่งข้อมูลผ่านทางวิทยุ เพื่อติดต่อกับดาวเทียมที่เราต้องการได้

2.8 แถบแสดงข้อมูลโปรแกรม (About)

 

 

3. หน้าจอแสดงข้อมูลของดาวเทียมและเวลาของโปรแกรมที่ใช้แสดงผล 

                       

 ภายใต้หน้าจอแสดงข้อมูลของดาวเทียมจะแสดงให้เห็นถึงรายชื่อดาวเทียมที่โปรแกรมสามารถทำการคำนวณการเคลื่อนที่ได้ โดยผู้ใช้สามารถเลือกทำการติดตามดาวเทียมได้โดยการกดเลือกเครื่องหมายถูกหน้าชื่อดาวเทียมที่ต้องการ และเมื่อดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อดาวเทียมจะเป็นการเลือกดาวเทียมปัจจุบันที่ต้องการติดตาม โดยดามเทียมที่ได้เลือกไว้เป็น Active จะมีเส้นรัศมีการให้บริการของดาวเทียม (Foot Print) แสดงให้เห็นในแผนที่โลก เมื่อผู้ใช้เลือกแถบข้อมูล (Data) จะเป็นการแสดงรายละเอียดของดาวเทียมที่ผู้ใช้เลือกไว้เป็นดาวเทียม Active ออกมาและผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของดาวเทียมได้โดยการกดปุ่ม Load TLE ซึ่งโปรแกรมจะให้เลือกเปิดแฟ้ม TLE ที่เราต้องการเพื่อให้เลือกติดตามดาวเทียมได้ ดังรูป

 


ที่มา: 
http://www.space.mict.go.th/service/orbitron.php
ศูนย์ข้อมูลอวกาศ สำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ